ต้นกำเนิด มัยซอร์ และ อัษฎางคโยคะ
"มัยซอร์" เป็นการฝึกโยคะตามแบบฉบับดั้งเดิมในสายของ "อัษฎางคโยคะ" หรือที่ชาวต่างชาติมักออกเสียงว่า "อาชทังก้า" (Ashtanga yoga) ซึ่งถือกำเนิดขึ้นที่เมืองมัยซอร์ (Mysore) ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย โดย คุรุชี ศรีกฤษณะ ปัตตาภิ โชอิส (Sri Krisana Pattabhi Jois) ปรมาจารย์ต้นตำหรับแห่งอัษฎางคโยคะ
ห้องเล็กๆ เรียงรายเสื่อโยคะ ระยะห่างแค่หนึ่งฝ่ามือ ได้เพียง 12 ผืน อยู่ชั้นล่างของตัวบ้านคุรุชี ถูกใช้เป็นห้องเรียนถ่ายทอดศาสตร์อัษฎางโยคะอยู่นาน และนั่นเองที่กลายเป็นที่มาของ การฝึกแบบมัยซอร์ ที่โด่งดังไปทั่วโลก
ทันทีที่เข็มนาฬิกาบอกเวลาตีห้า นักเรียนทุกคนจะต้องมารวมตัวอยู่ในห้องนี้ สันนิษฐานว่า การฝึกตอนเข้าตรู่นี้ เพราะท้องคนเรายังไม่ได้รับอาหาร ท้องจะว่างและตัวเบา ทำให้การฝึกท่าต่างๆ ได้ดีว่า
หลังกล่าวคำสวดตามคุรุชีแล้ว ก็จะเริ่มต้นฝึกอาสนะต่างๆ ตามลำดับ โดยการฝึกแนวอัษฎางคโยคะนั้น มี 3 ชุดท่า คือ
ขั้นพื้นฐาน (Primary)
ขั้นกลาง (Intermediate)
ขั้นสูง (Advance) มี 4 ซีรีย์ คือ A, B, C, และ D
แต่ละชุดจะเริ่มด้วย "สูรยนมัสการ" (Suryanamaskara) และ "ท่ายืน" (Standing Asana) และทุกชุดจะต้องจบลงด้วย "ชุดท่าโค้งหลัง" (Back Bending) และ "ชุดท่าจบ" (Finishing Sequence) ตามลำดับ ดังนี้
สูรยนมัสการ A หรือ ท่าไหว้พระอาทิตย์แบบ A (Suryanamaskara A)
สูรยนมัสการ B หรือ ท่าไหว้พระอาทิตย์แบบ B (Suryanamaskara B)
ท่ายืน (Standing Asana)
อาสนะขั้นพื้นฐาน (Primary Asana หรือ Primary Series)
อาสนะขั้นกลาง ( Intermediate Asana หรือ Intermediate Series)
อาสนะขั้นสูง (Advance A Asana หรือ Advance A Series)
อาสนะขั้นสูง (Advance B Asana หรือ Advance B Series)
อาสนะขั้นสูง (Advance C Asana หรือ Advance C Series)
อาสนะขั้นสูง (Advance D Asana หรือ Advance D Series)
ชุดท่าโค้งหลัง (Back Bending)
ชุดท่าจบ (Finishing Sequence)
เมื่อฝึกถึง ท่าโค้งหลัง แล้ว คุรุชีจะกดหลังให้ไป ปศจิมัตตานาสนะ (Paschimottanasana) แล้วให้นักเรียนคนนั้นย้ายไปฝึก ชุดท่าจบ (finishing sequence) ในห้องชั้นบนบ้านด้วยตัวเอง
ในห้องชั้นล่างนี้ บ้างใช้เวลาครึ่งชั่วโมง บ้างก็ว่าสองชั่วโมง ขึ้นอยู่กับระดับการฝึกของนักเรียนแต่ละคน และเมื่อที่มีนักเรียนขึ้นไปฝึกชุดท่าจบ ที่ว่างในห้องจะถูกแทนที่ด้วยนักเรียนใหม่ที่นั่งรออยู่ทันที
"So long as the (Breathing) air stays in the body, it is called life"
"ตราบใดที่ลมหายใจอยู่ในร่างกาย ตราบนั้นเราเรียกว่าชีวิต"
The Hatha Yoga Pradipika
หฐประทีปิกา ตำราโยคะโบราณของอินเดียว่าไว้ "การหายใจคือชีวิต"
เชื่อกันในหมู่โยคีว่า ชีวิตมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับการหายใจ ผู้ใดหายใจสั้น ตื้น เร็ว (มัก) จะอายุสั้นกว่าผู้ที่หายใจช้าและลึก โยคีในยุคหนึ่งเคยทำการสังเกตธรรมชาติแล้วพบว่า สัตว์ที่หายใจช้า เช่น งู ช้าง เต่า จะอายุยืน สัตว์หายใจเร็ว เช่น กระต่าย นก สุนัข จะอายุสั้น นั่นเพราะการหายใจกับการทำงานของหัวใจมีความสัมพันธ์ จึงเกิดความเชื่อว่า หากอยากอายุยืนให้เริ่มต้นที่การกำหนด ลมหายใจ ดังได้เห็นในการฝึกอาสนะของโยคะรูปแบบต่างๆ
เช่นเดียวกัน การฝึกอาสนะของอัษฎางคโยคะนั้น จุดเริ่มต้นสำคัญก็คือ "อุชชายี ปราณยามะ" (Ujjayi Pranayama) หรือลมหายใจแบบอุชชายี ซึ่งเป็นการหายใจด้วยลำคอ โดยการเกร็งหลอดลมจนทำให้ช่องที่อากาศผ่านเล็กลง ทำให้เกิดเสียงเบาๆ ในลำคอในขณะที่หายใจ
เสียงนี้ถูกเรียกว่า "เสียงอุชชายี" ช่วยให้เกิดลมหายใจอย่างต่อเนื่อง และช่วงสร้างความร้อนขึ้นในร่างกาย เอื้อต่อการยืดและฝึกอาสนะ รวมถึงทำความสะอาดร่างกายผ่านทางเหงื่อที่ขับออกไป
ในครั้งแรกๆ นั้นเสียงลมหายใจที่ดังและแข็งกระด้าง ซึ่งมาจากการเกร็งคอหรือกล่องเสียงมากเกินไป แต่ในที่สุดการฝึกฝนจะช่วยให้เสียงนุ่มนวล แผ่วเบา สม่ำเสมอ และเป็นธรรมชาติมากขึ้น
เชื่อกันว่า การควบคุมการหายใจนี้นอกจากจะทำให้ผู้ฝึกดำดิ่งไปสู่สมาธิแล้ว ยังสามรถยับยั้งพลังแห่งความตาย ทำให้ธาตุไฟและพลังชีวิตเพิ่มพูนขึ้น ดังนั้น อุชชายี ปราณายามะ จึงไม่ให้แค่การควบคุมลมหายใจเท่านั้น หากแต่เป็น ชัยชนะแห่งชีวิต เล่ากันว่า ท่ามกลางความเงียบสงบ ในห้องเรียนอัษฎางคโยคะที่บ้านคุรุชี เราจะได้ยินเพียงเสียงลมหายใจแผ่วเบาของนักเรียนเท่านั้น ยกเว้น
.."ไม่ใช่ ไม่ใช่ เธอต้องจับนิ้วเท่าต่างหาก"
.."วางศีรษะลง"
เสียงคุรุชีดังขึ้น เมื่อบางท่าของบางคนที่ไปสะดุดตาเข้าและนั่นอาจจะทำให้ชั้นของการฝึกถูกหยุดลงไปโดยปริยาย
การถูก หยุด สำหรับผู้ฝึกอัษฎางคโยคะนั้น
ไม่ต่างอะไรกับการสอบตกซ้ำชั้น
นี่เสมือนกฏที่ผู้ฝึกทุกคนต้องพึงระลึกไว้
แม้ในปัจจุบัน...
การฝึกแนวอัษฎางคโยคะนั้นจะเป็นไปตามลำดับขั้น โดย ครู เท่านั้นที่เป็นผู้ให้ท่า คือ อนุญาตใหฝึกท่าต่อไปได้ รวมถึง หยุด สำหรับผู้ที่ฝึกท่าหรือ อาสนะใดๆ ไม่ถูกต้อง
นี่เองที่ทำให้หลายๆ คนที่ฝึกไปถึง อาสนะขั้นสูง (Advance Asana) แล้ว แต่คุรุชีกลับให้ฝึกเพียงครึ่งหนึ่งของชุดท่า อาสนะขั้นพื้นฐาน (Primary Asana) และไม่ยอมให้ทำท่าต่อไป ตราบใดที่ยังทำท่านั้นไม่ถูกต้อง รวมถึงยังจดจำท่าต่างๆ ในซีรีส์ไม่ได้
การจดจำจึงเป็นเสมือนกุญแจดอกสำคัญในการเรียนรู้ศาสตร์อัษฎางคโยคะ โดยวิธีที่จะทำให้อาสนะต่างๆ ถูกประทับในความทรงจำ ก็คือ การทำซ้ำ แล้วซ้ำอีก เพื่อให้ทุกท่วงท่านันทึกอยู่ไม่เพาะความทรงจำทางปัญญาเท่านั้นหากรวมถึงความทรงจำทางร่างกาย
หลังฝึก สูรยสมัสการ และ ท่ายืน จนสามารถจดจำ และทำอย่างต่อเนื่องแล้ว ครูจะให้ผู้ฝึกเรียนรู้ท่าใหม่ใน ชุดพื้นฐาน อีก 1-2 ท่าเท่านั้นในวันต่อมา ภายใต้ความเชื่อที่ว่า ยิ่งช้าเท่าใด ยิ่งหยั่งลึกมากเท่านั้น
เมื่อฝึก ชุดพื้นฐาน จนครบและจดจำได้แล้ว หากครูจะเป็นผู้พิจารณาแล้วว่าผู้ฝึกนั้นมีความสามารถเพียงพอ ก็จะให้ฝึก ชุดขั้นกลาง ต่อไป โดยฝึกอาสนะขั้นกลางต่อจาก ชุดพื้นฐาน ทีละท่า ก่อนจะ แยกการฝึก (Split) คือ แยกชุดท่าหนี่งออกมาฝึกต่างหาก เช่น จากแต่เดิมฝึกชุดพื้นฐาน รวมกับ ชุดขั้นกลาง ครึ่งหนึ่ง ต่อมาแยก ชุดขั้นกลาง ออกมาฝึกอย่างเดียวและฝึกชุดพื้นฐานเพียงสัปดาห์ละครั้ง
" อาสนะที่ยากที่สุด
สิ่งสำคัญคือการฝึกโดยไม่ข้ามมันไป "
แมทธิว สวีนีย์ ผู้เขียนหนังสือ Ashtanga yoga as it is
ขอบคุณที่มาจากหนักสือ :
โยคะ ความคิด ชีวิต ชลิตา โดย แนน ชลิตา เฟื่องอารมย์
Коментарі